วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ดวงอาทิตย์(SUN)


ดวงอาทิตย์(SUN)


     ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญในระบบสุริยะ เป็นดาวฤกษ์ สีเหลือง มีอายุเกือบ 5,000 ล้านปี อยู่ห่าจากโลกของ เราประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางมายังโลกเพียง 8.3 นาที หรือ 499 วินาทีเท่านั้น พลังงานจำนวนมหาศาล ในดวงอาทิตย์ได้มา จากการ เปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนเป็น ฮีเลียมที่อุณหภูมิประมาณ 15 ล้านเคลวิน หรือประมาณ 27 ล้านองศาฟาเรนไฮต์
ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่มากกว่าโลกของเรา109 เท่า มีปริมาตร 1,300,000 เท่าของโลก และมีมวล มากกว่าโลกของเรา 333,434 เท่า   กาลิเลโอเป็นคนแรก ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง และจากการศึกษาของนักดาราศาสตร์ทำให้ทราบว่า การหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ ในบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะมีความเร็วกว่าที่บริเวณขั้ว เหนือและขั้วใต้


   กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงปานกลางและอยู่ใกล้โลกที่สุด จึงเป็นดาวฤกษ์ที่นักดาราศาสตร์ศึกษามากที่สุด ดวงอาทิตย์เกิด จากการยุบรวมตัวของเนบิวลาเมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีมาแล้ว และจะฉายแสงสว่างอยู่ในสภาพสมดุลเช่นทุกวันนี้ต่อไปอีกประมาณ 5,000 ล้านปี
การยุบตัวของเนบิวลา เกิดจากแรงโน้มถ่วงของเนบิวลาเอง เมื่อแก๊สยุบตัวลง ความดันของแก๊สจะสูงขึ้น ผลที่ตามมาคือ อุณหภูมิของแก๊สจะสูงขึ้นด้วยนี่คือธรรมชาติของแก๊สในทุกสถานที่ ที่แก่นกลางของเนบิวลาที่ยุบตัวลงนี้ จะมีอุณหภูมิสูงกว่าที่ขอบนอก เมื่ออุณหภูมิแก่นกลางสูงมากขึ้นเป็นหลายแสนองศาเซลเซียส เรียกช่วงนี้ว่า ดาวฤกษ์เกิดก่อน ( Protostar) เมื่อแรงโน้มถ่วงดึงให้แก๊สยุบตัวลงไปอีก ความดัน ณ แก่นกลางสูงขึ้น และอุณหภูมิก็สูงขึ้นเป็น 15 ล้านเคลวิน เป็นอุณหภูมิสูงมากพอที่จะเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ (thermonuclear reaction) หลอมนิวเคลียสไฮโดรเจนเป็นนิวเคลียสฮีเลียม เมื่อเกิดความสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงกับแรงดันของแก๊สร้อนทำให้ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สมบูรณ์
ส่วนประกอบของดวงอาทิตย์


 
1. แกนกลาง แกนกลางของดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันหรือเทอร์โมนิวเคลียร์ คือหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียมที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 15 ล้านองศาเซลเซียส
     2. ชั้นแผ่รังสี เป็นส่วนที่รับและดูดกลืนรังสีอันเนื่องมาจากพลังงานที่ผลิตได้ และความร้อนจากแกนกลางถ่ายทอดสู่ส่วนนอกโดยการแผ่รังสีแบบคลื่น
     3. ชั้นแก๊สหมุนวน เป็นชั้นที่อนุภาคซึ่งได้รับพลังงานความร้อนจากชั้นแผ่รังสีมีการเคลื่อนที่ ถ่ายเทพลังงานให้กันและกัน ทำให้มีการพาพลังงานออกมาสู่ผิวชั้นนอกได้
     4. โฟโตสเฟียร์ เป็นพื้นผิวของดวงอาทิตย์ซึ่งประกอบด้วยก๊าซร้อนซึ่งเคลื่อนที่ตลอดเวลา จะบริเวณที่เป็นเปลือกและมีลักษณะส่องสว่าง
     5. โคโรนา เป็นบรรยากาศของดวงอาทิตย์แผ่กระจายกว้างไกลจากดวงอาทิตย์ มีความสว่างน้อย จะต้องรอให้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงจึงสังเกตเห็นโคโรนา
จุดบนดวงอาทิตย์(Sunspots)


 เกิดจากสนามแม่เหล็กที่หมุนวนปั่นป่วนรุนแรงของดวงอาทิตย์กักกั้นพลังงานจากภายในดวงไม่ให้เคลื่อนออกสู่ผิวดวง ทำให้อุณหภูมิบริเวณนั้นต่ำกว่าบริเวณข้างเคียง จึงปรากฏเป็นจุดบนดวงอาทิตย์
• จุดบนดวงอาทิตย์(Sunspots) เกิดจากสนามแม่เหล็กที่หมุนวนปั่นป่วนรุนแรงของดวงอาทิตย์กักกั้นพลังงานจากภายในดวงไม่ให้เคลื่อนออกสู่ผิวดวง ทำให้อุณหภูมิบริเวณนั้นต่ำกว่าบริเวณข้างเคียง จึงปรากฏเป็นจุดบนดวงอาทิตย์
• จุดบนดวงอาทิตย์ปรากฏมืดดำเพราะเป็นบริเวณที่มีความสว่างและมีความร้อนน้อยกว่าพื้นที่ข้างเคียง  ความจริงแล้วบริเวณจุดบนดวงอาทิตย์มีความสว่างสูงมาก   
   
แสงออโรร่า
หลังจาการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ประมาณ 20-30 ชั่วโมงจะมีอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าต่างๆจากดวงอาทิตย์เดินทางมายังโลกอนุภาคสุริยะเหล่านี้ถูกตรึงยึดไว้โดยสนามแม่เหล็กโลก เร่งให้พลังงานระดับสูงและเกิดความกดอากาศสูงขึ้น แสงพุ่งขึ้นจากท้องฟ้า ในเวลากลางคืนลักษณะรูปวงรีขนาดใหญ่รอบทั้งสองขั้วแม่เหล็ก แสงที่พุงขึ้นจากท้องฟ้าในเวลากลางคืนเรียกว่า แสงออโรร่า




 
          










ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญต่อโลกมากเพราะเป็นแหล่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  สัตว์ และพืช แต่โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพียง2 ใน2200 ล้านส่วนเท่านั้น  เนื่องจากที่ใช้พลังงานได้เท่านี้เพราะในกาแล็กซี่นี้มีโลกเพียงใบเดียวเท่านั้นที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เพราะที่ตั้งของโลกอยู่ในที่ที่เหมาะสมจึงทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตจึงมีการใช้ประโยชน์จากแสงสว่างของดวงอาทิตย์ได้น้อย
พลังงานที่มีผลกระทบต่อโลกทันที อันดับแรกคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งสามารถผ่นชั้นบรรยากาศมาถึงผิวโลกได้เร็ว นอกจากนี้ยังมีเคลื่อนวิทยุและรังสีอัลตราไวโอเลต
พลังงานที่มีผลกระทบต่อโลกในภายหลัง คือแสงเหนือแสงใต้หรือแสงออโรรา

1. ประโยชน์จากแสงทางตรง   เช่น  การทำนาเกลือ  เซลล์สุริยะ การทำอาหารตากแห้ง  การตากผ้า  การฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่ม ต้องอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์  การแสดงหนังตะลุง และภาพยนตร์ ต้องใช้แสงเพื่อทำให้เกิดเงาบนจอ  การมองเห็นก็ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากแสงทางตรง
2. ประโยชน์จากแสงทางอ้อม   เช่น ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ  (การเกิดฝน)  พืชและสัตว์ที่เรารับประทาน ก็ได้รับการถ่ายทอดพลังงานมาจากแสงอาทิตย์  

การทำนาเกลือ

แสงแดดช่วยทำให้ผ้าที่ตากแห้งเร็ว

                            
                                                                     เซลล์สุริยะ